วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

ระบบไหลเวียนเลือด

ระบบไหลเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ( Circulatory System )
 1.1 ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด  (Closed circulatory System)
               ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด ระบบนี้เลือดจะไหลเวียนอยู่ในท่อของหลอดเลือดตลอดเวลา มีหลอดเลือดฝอยเชื่อมระหว่างหลอดเลือดอาร์เทอร์รีและเวน  พบในแอนิลิด (ไส้เดือน ทากดูดเลือด) ปลาหมึก สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด (ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม)
 1.2 ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด (Open circulatory System)
               ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด ระบบนี้เลือดไหลออกจากหัวใจไปตามหลอดเลือด แล้วไหลออกจากหลอดเลือดผ่านช่องว่างระหว่างลำตัว และที่ว่างระหว่างอวัยวะต่างๆ เลือดและน้ำเหลืองจึงปนกันได้ เรียกว่า ฮีโมลิทพ์ (HaemolymphX ) และช่องว่างระหว่างเนื้อเยื่อที่เป็นทางผ่านของฮีโมลิทพ์  จะเรียกว่า  ฮีโมซีล(Heamocoel) ลักษณะเช่นนี้พบในสัตว์พวกอาร์โทรพอด (แมลง แมง กุ้ง กั้ง ปู ตะขาบ และกิ้งกือ) มอลลัสก์ (หอยต่างๆยกเว้นปลาหมึก) โพรโทคอร์เคต (เพรียงหัวหอม และแอมฟิออกซัส)
ระบบหมุนเวียนเลือดในมนุษย์
1. หัวใจ (Heart )
      หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะที่รับผิดชอบหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง หัวใจของมนุษย์จะอยู่บริเวณช่องอกค่อนไปทางซ้าย แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ด้านบน 2 ห้อง และด้านล่างอีก 2 ห้อง
      ทำหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยทำให้เกิดความดันเลือดในหลอดเลือดแดง  เพื่อให้เลือดเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทั่วถึง
ส่วนหัวใจแต่ละห้องมีหน้าที่ ดังนี้
หัวใจห้องบนขวา
ทำหน้าที่รับเลือดจากหลอดเลือดดำที่ส่งเลือดมาจากร่างกายช่วงบนและช่วงล่าง
หัวใจห้องล่างขวา
ตำแหน่งของหัวใจห้องนี้จะอยู่ด้านหน้าสุดของหัวใจ ทำหน้าที่รับเลือดต่อจากหัวใจห้องบนขวา และส่งเลือดไปยังปอดผ่านลิ้นหัวใจและหลอดเลือดแดง
หัวใจห้องบนซ้าย
ตำแหน่งของห้องหัวใจบนซ้าย จะอยู่ด้านหลังสุด และเป็นห้องหัวใจที่มีขนาดเล็กที่สุดด้วย เมื่อเทียบกับห้องหัวใจอื่น ๆ หัวใจห้องบนซ้ายจะคอยรับเลือดที่มีออกซิเจนจากปอด ซึ่งส่งมาทางทางหลอดเลือดแดง
หัวใจห้องล่างซ้าย
ห้องหัวใจที่มีผนังหัวใจหนาที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนซึ่งได้รับมาจากหัวใจห้องบนซ้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
รูปที่ 1 อธิบายโครงสร้างหัวใจ
รูปที่ 2 อธิบายโครงสร้างของหัวใจ
รูปที่ 3 อธิบายโครงสร้างของหัวใจ
2. หลอดเลือด (Artery)
หลอดเลือดแดง ( Artery ) หมายถึง หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ ซึ่งจะเป็นเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงเป็นเลือดที่มีสีแดงสด ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ( ยกเว้นหลอดเลือดที่ไปสู่ปอดชื่อ pulmonary artery ซึ่งจะนำเลือดดำจากหัวใจที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงไปฟอกที่ปอด ) 
      ลักษณะของหลอดเลือดแดง
      – มีผนังหนา โดยจะมีลักษณะเป็นชั้นกล้ามเนื้อที่หนาและยืดหยุ่น ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือเนื้อเยื่อด้านในสุดเป็นเนื้อเยื่อบุผิว ชั้นกลางเป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่สามารถยืดหยุ่นได้ เนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยืดหยุ่นได้
หลอดเลือดแดงมี 3 ขนาด เรียงจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ
      – เอออร์ตา ( aorta ) หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่สุด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดแดงที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายโค้งไปทางด้านหลัง ทอดผ่านช่องอกและช่องท้อง ขนาดใหญ่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว
      – อาร์เทอรี ( artery ) หลอดเลือดแดง ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยวส่วนต่างๆ ของร่างกาย หลอดเลือดมีผนังกล้ามเนื้อหนาเพื่อให้ทนต่อแรงดันเลือด
     – อาร์เทอริโอล ( arteriole ) หลอดเลือดแดงเล็ก ซึ่งสามารถจะขยายตัวหรือหดตัวได้ เพื่อบังคับการไหลของเลือด
หลอดเลือดดำ ( Vein ) หมายถึง หลอดเลือดที่นำเลือดที่มีของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์ ( เลือดดำ ) ที่ร่างกายใช้แล้วจากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา ( Right atrium ) เพื่อนำกลับไปฟอกที่ปอด ( ยกเว้นหลอดเลือดดำปอดที่ชื่อ pulmonary vein ซึ่งจะนำเลือดแดงที่ผ่านการฟอกจากปอดแล้วนำกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ) ภายในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำ ถ้าหลอดเลือดดำฉีกขาด เลือดที่ไหลออกมาจะไหลรินๆคงที่ และสม่ำเสมอ ห้ามเลือดหยุดได้ง่ายกว่าหลอดเลือดแดงฉีกขาด 
ลักษณะของเส้นเลือดดำ
     – มีผนังบาง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น เช่นเดียวกับหลอดเลือดแดงแต่บางกว่า
     – ผนังมีความยืดหยุ่นได้น้อย เพราะมีเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันน้อย
     – มีลิ้นกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
หลอดเลือดฝอย ( Capillary ) หมายถึง หลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ไปยังหลอดเลือดดำขนาดเล็ก โดยจะแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ สมอง และอวัยวะอื่นๆ ยกเว้นเส้นผม และเล็บจะไม่มีหลอดเลือดฝอย 
ลักษณะของเส้นเลือดฝอย
     – หลอดเลือดฝอยเป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุดในร่างกายมีทั้งเส้นเลือดแดงฝอย และเส้นเลือดดำฝอย
     – มีเนื้อเยื่อบางมาก มีจำนวนมากเพราะเป็นส่วนที่ต้องแยกไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย มีผนังบาง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 ไมโครเมตร
     – ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว มีหน้าที่เป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ และสารต่างๆระหว่างเลือดกับเซลล์ของร่างกายโดยวิธีการแพร่


3.  ความดันเลือด (Blood pressure)
ความดันเลือด ( blood pressure)หมายถึงความดันในหลอดเลือดแดงเป็นส่วนใหญ่เกิดจากบีบตัวของหัวใจ
ที่ดันเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดความดันของหลอดเลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีความดันสูงกว่าหลอดเลือดแดง
ที่อยู่ไกลหัวใจ ส่วนในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำกว่าหลอดเลือดแดงเสมอความดันเลือดมีหน่วยวัดเป็น
มิลลิเมตรปรอท (mmHg) เป็นตัวเลข 2 ค่าคือ
  • ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว และค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท
    ค่าตัวเลข 120 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ
    เรียกว่า 
    ความดันระยะหัวใจบีบตัว (Systolic Pressure)
  • ส่วนตัวเลข 80 แสดงความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เพื่อรับเลือดเข้าสู่หัวใจ
    เรียกว่า
     ความดันระยะหัวใจคลายตัว (Diastolic Pressure)
     เครื่องมือวัดความดันเลือดเรียกว่า “ มาตรความดันเลือด จะใช้คู่กับสเตตโตสโคป (stetoscope)” โดยจะวัด
ความดันที่หลอดเลือดแดง
     ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจมีค่า 100 + อายุ และความดันเลือดขณะหัวใจ
รับเลือดไม่ควรเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าเกินจะเป็นโรคความดันเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่น
หลอดเลือดตีบตัน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โกรธง่ายหรือเครียดอยู่เป็นประจำ พบมากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีจิตใจอยู่
ในสภาวะเครียด นอกจากนี้ยังเกิดจากอารมณ์โกรธทำให้ร่างกายผลิตสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งสารนี้จะมีผลต่อ
การบีบตัวของหัวใจโดยตรง
     ชีพจร หมายถึง การหดตัวและการคลายตัวของหลอดเลือดแดง ซึ่งตรงกับจังหวะการเต้นของหัวใจคนปกติหัวใจเต้น
เฉลี่ยประมาณ 72 ครั้งต่อนาที การเต้นของชีพจรแต่ละคนจะแตกต่างกันปกติอัตราการเต้นของชีพจรในเพศชาย
จะสูงกว่าเพศหญิง
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด มีดังนี้
  1. อายุ ผู้สูงอายุมีความดันเลือดสูงกว่าเด็ก
  2. เพศ เพศชายมีความดันเลือดสูงกว่าเพศหญิง ยกเว้นเพศหญิงที่ใกล้หมดประจำเดือนจะมีความดันเลือด
    ค่อนข้างสูง
  3. ขนาดของร่างกาย คนที่มีร่างกายขนาดใหญ่มักมีความดันเลือดสูงกว่าคนที่มีร่างกายขนาดเล็ก
  4. อารมณ์ ผู้ที่มีอารมณ์เครียด วิตกกังวล โกรธหรือตกใจง่ายทำให้ความดันเลือดสูงกว่าคนที่อารมณ์ปกติ
  5. คนทำงานหนักและการออกกำลังกาย ทำให้มีความดันเลือดสูง
4.  เลือด (Blood)
เลือด (Blood) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของเหลว 55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรียกว่า “ น้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma)”และส่วนที่เป็นของแข็งมี 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด
1. น้ำเลือดหรือพลาสมา
ประกอบด้วยน้ำประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์ ทำหน้าที่ลำเลียงเอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส แร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารประเภทต่างๆที่ผ่านการย่อยอาหารมาแล้วไปให้เซลล์และรับของเสียจากเซลล์ เช่น ยูเรีย
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ ส่งไปกำจัดออกนอกร่างกาย
2. เซลล์เม็ดเลือด ประกอบด้วย
2.1 เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell)
 มีลักษณะค่อนข้างกลมตรงกลางจะเว้าเข้าหากัน ( คล้ายขนมโดนัท ) เนื่องจากไม่มีนิวเคลียส องค์ประกอบส่วนใหญ่
เป็นสารประเภทโปรตีนที่เรียกว่า “ ฮีโมโกลบิน ” ซึ่งมีสมบัติในการรวมตัวกับแก๊สต่างๆ ได้ดี เช่น แก๊สออกซิเจน
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
    หน้าที่ แลกเปลี่ยนแก๊ส โดยจะลำเลียงแกสออกซิเจน ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และลำเลียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
จากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับไปที่ปอด
     แหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง คือ ไขกระดูก ผู้ชายจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้หญิง เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุ
ประมาณ 110-120 วัน หลังจากนั้นจะถูกนำไปทำลายที่ตับและม้าม
2.2 เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell)
มีลักษณะค่อนข้างกลม ไม่มีสีและมีนิวเคลียส เม็ดเลือดขาวในร่างกายมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
  หน้าที่ ทำลายเชื้อโรคหรือสารแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย
แหล่งที่สร้างเม็ดเลือดขาว คือ ม้าม ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง มีอายุประมาณ 7-14 วัน
3. เกล็ดเลือดหรือแผ่นเลือด (blood pletelet)
ไม่ใช่เซลล์แต่เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ซึ่งมีรุปร่างกลมรีและแบนเกล็ดเลือดมีอายุประมาณ4วัน
หน้าที่ ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีการไหลของเลือดจากหลอดเลือดออกสู่ภายนอก
4.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น