วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

ระบบผิวหนังและระบบกล้ามเนื้อ

ระบบผิวหนัง

ผิวหนัง(skin)  เป็นส่วนปกคลุมชั้นนอกของร่างกาย ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชั้น ผิวหนังมีหน้าที่รับรู้การกระตุ้นจากภายนอก ป้องกันความเสียหายหรือการติดเชื้อ ป้องกันตัวเเห้ง ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ขับของเสียออกจากร่างกาย (เหงื่อ) สะสมไขมัน และสร้างวิตามินดี ผิวหนังมีโครงสร้างเล็กๆหลายแบบ แต่ละเเบบทำหน้าที่ต่างกัน ผิวหนังทั้งหมด(ชั้นเนื้อเยื่อและโครงสร้างต่างๆ) เรียกว่า ระบบปกคลุมร่างกาย ( integumentary system) 


โครงสร้างของผิวหนัง

    โครงสร้างของผิวหนังประกอบด้วย 3 ชั้น ดังนี้
1.ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวหนังชั้นนอกสุด ไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยง ประกอบด้วยเซลล์มากมาย เซลล์ที่อยู่ด้านล่างสุดจะคอยทำหน้าทีสร้างเซลล์ใหม่ โดยจะแบ่งตัวตลอดเวลา และเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ จะค่อยๆดันเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ให้เคลื่อนไปจนถึงชั้นบนสุดของชั้นหนังกำพร้า และกลายเป็นเซลล์เก่าที่ตายแล้ว เรียกว่าเคอราติน (Keratin) โดยจะหลุดลอกออกมาเป็น ขี้ไคล เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ในคนปกติผิวหนังกำพร้าจะเกิดการผลัดเปลี่ยนใน 28- 30 วัน โดยในแต่ละแห่งวงจรการหลุดลอกจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการเสียดสีด้วย การที่แต่ละคนมีสีผิวที่แตกต่างกัน เช่น ผิวขาว ผิวเหลือง หรือผิวคล้ำ เกิดจากการที่เซลล์สร้างเม็ดสีที่เรียกว่า เมลาโนไซต์ (Melanocyte) คอยทำหน้าที่สร้างเม็ดสี (Melanin) อยู่ที่บริเวณชั้นล่างสุดของหนังกำพร้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้สีผิวคนเราแตกต่างกัน ได้แก่ เชื้อชาติ ฮอร์โมน การได้รับยา สารเคมี และแสงแดด ความร้อน เป็นต้น
         2.ชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นส่วนใหญ่ของผิวหนังประกอบไปด้วย
  • เส้นใยคอลลาเจน (Collagen Fiber) คือโปรตีนคอลลาเจน เป็นส่วนที่ทำให้ผิวหนังเกิดความหนาแน่น แข็งแรง คอลลาเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ จะมีการสลายและสร้างใหม่ตลอดเวลา ชั้นหนังแท้ที่หนาที่สุดจะอยู่หลังต้นขา และหน้าท้อง
  • เส้นใยอีลาสติค (Elastic Fiber) ทำให้เกิดความยืดหยุ่น และยังมีบางส่วนทำหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำและอาหาร ของเสียระหว่างเซลล์ และเลือด
  • เส้นประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
  • ระบบน้ำเหลือง ควบคุมความดันของน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์ และถ่ายเทของเสียออกจากผิวหนัง
  • ต่อมเหงื่อ และต่อมไขมัน  
    3.ชั้้นของไขมัน (Subcutaneous Fat) ชั้นนี้มีเนื้อเยื่อไขมันมากช่วยป้องกันอวัยวะภายในจากการถูกกระทบกระแทก ช่วยเก็บสะสมพลังงาน ชั้นนี้จะประกอบไปด้วย เซลล์ไขมัน และมีเส้นประสาท เส้นเลือด และท่อน้ำเหลืองอยู่ด้วย ต่อมไขมัน มีหน้าที่สร้างไขมันออกมาเพื่อเคลือบผิวหนัง และลดการสูญเสียน้ำ การเจริญเติบโตของต่อมไขมันขึ้นอยู่กับ ฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) ในเพศชายจะมีการสร้างไขมันมากกว่าเพศหญิง การสร้างไขมันจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ เมื่ออายุมากขึ้น การสร้างไขมันจะลดลง จึงทำให้สังเกตได้ว่า คนชรามีผิวค่อนข้างแห้ง กว่าคนหนุ่มสาว และมักไม่ค่อยเป็นสิว
   -ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของผิวหนัง (pH) โดยทั่วไปสภาพที่ดีที่สุดของผิวหนัง คือความเป็นกรดอ่อนๆ ค่า pH ประมาณ 4.5 - 6.5 แต่ทั้งนี้อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไป เช่น
  • สภาพความเป็นด่าง : เกิดจากการใช้สบู่หรือสารชะล้างที่มีความเป็นด่างชำระล้างผิวหน้าเป็นประจำ ซึ่งจะทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้ และติดเชื้อได้ง่าย
  • สภาพความเป็นกรด : ตัวอย่างเช่น คนที่มีผิวหน้ามัน มีต่อมไขมันทำงานมากกว่าปกติ จะมีค่า pH ลดลงตามไปด้วย และนี่คือโครงสร้างของผิวหนังเรา

สารเมลานิน ( Melanin) หรือเม็ดสีสร้างจากเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ (melanocyte) เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากเซลล์ระบบประสาทซึ่งแทรกตัวอยู่ในชั้นหนังกำพร้าส่วนล่างสุด โดยเซลล์เมลาโนไซต์หนึ่งเซลล์จะแตกแขนงเป็นร่างแหเล็กๆ ยื่นไปสัมผัสเซลล์ผิวหนังประมาณ 35 เซลล์



 ยู เมลานิน (Eumelanin) เป็นเซลล์เม็ดสีเข้ม เพราะมีเมลานินบรรจุอยู่ในแคปซูลมา(คนผิวดำ)
ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) เป็นเซลล์สีเหลืองหรือแดง เพราะมีเมลานินน้อย
ส่วนคนที่มีผิวสีเหลือง= มีสารยูเมลานิน และสารฟีโอเมลานิน




ระบบกล้ามเนื้อ
 ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striatedmuscle) กล้ามเนื้อเรียบ (smoothmuscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์ ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ

1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeletonmuscle)
                เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วย กล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์ มีหลายนิวเคลียสอยู่ที่ขอบของเซลล์ มีลายตามขวางสีเข้มและสีจางสลับกัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมด้วยสีคนที่ออกกำลังเสมอเส้นใยกล้ามเนื้อจะโตขึ้น และหนาขึ้น แต่จำนวนไม่เพิ่มขึ้นการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ โดยกล้ามเนื้อลายมีหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกายที่ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวลูกตาช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เคลื่อนไหวลิ้น เคลื่อนไหวใบหน้าแสดงอารมณ์ต่างๆและยังประกอบเป็นผนังอก และผนังท้องตลอดจนการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
2.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiacmuscle)


ภาพกล้ามเนื้อหัวใจ
                กล้ามเนื้อหัวใจประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจโดยควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติมีลักษณะเป็นเซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจางเซลล์กล้ามเนื้อตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง ไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียงเซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต

                   

 *ตัวอย่างเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจ            *กล้ามเนื้อหัวใจขณะทำงาน

3.กล้ามเนื้อเรียบ (smoothmuscle)
 กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหารและอวัยวะภายใน ต่างๆ เช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System)มีลักษณะเป็นเซลล์รูปกระสวย มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง

*เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะต่าง ๆ 


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น