การหายใจของปลาเริ่มขึ้นเมื่อมีน้ำ เข้าทางปากหรือท่อ เช่น สไปเรเคิล (spiracles) ในปลาพวกฉลามและกระเบน น้ำที่มีก๊าซออกซิเจน ละลายอยู่ก็จะผ่านเข้าไป ตามช่องเหงือก ครั้นเมื่อปลาหุบปาก และกระชับกระพุ้งแก้ม น้ำก็จะถูกขับออกทางช่องแก้ม ซึ่งเปิดอยู่ทางส่วนท้ายของส่วนหัว น้ำที่ถูกขับออกทางส่วนท้ายนี้ ยังเป็นแรงที่ช่วยดันให้ปลา เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีกส่วนหนึ่งด้วย
ยังมีปลาบางจำพวกที่มีอวัยวะพิเศษ ใช้ช่วยในการหายใจ นอกเหนือจากผิวหนังของปลาซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับถ่ายของเสีย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปลาบางจำพวก เช่น ปลาไหลน้ำจืด ใช้ลำไส้ช่วยในการหายใจได้ด้วย ในลูกปลาวัยอ่อน (larvae) ของปลาส่วนใหญ่ที่ยังมีถุงไข่แดงอยู่ ปรากฏว่าเส้นเลือดฝอยบนถุงไข่แดง และที่ส่วนต่าง ๆ ของครีบสามารถดูดซับ เอาก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้เช่นกัน ในลูกปลาจำพวกที่มีอวัยวะคล้ายปอด (lung fishes) จะมีเหงือกพิเศษ ซึ่งพัฒนาดีในระยะแรก ของการเจริญเติบโตของปลาเท่านั้น ต่อมาเมื่อลูกปลาดังกล่าวโตขึ้น เหงือกพิเศษจะค่อย ๆ หดหายไป
นกเป็นสัตว์ที่มี high metabolic rate โดยเฉพาะขณะบินยิ่งต้องการออกซิเจนสูง เพื่อให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอในขณะบิน จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างพิเศษที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซ นั่นคือถุงลม(air sac) ซึ่งไม่พบโครงสร้างนี้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ปกติถุงลมไม่ได้เป็นตัวที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซโดยตรงแต่เป็นส่วนที่กักเก็บอากาศ เพื่อให้ปอดรักษาปริมาตรอากาศภายในให้คงที่ไว้ได้ ระบบการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอด(common Krestel’s circulatory lung system) ประกอบด้วย
1. cervical air sac 2. clavicular air sac 3. cranial thoracal air sac 4. caudal thoracal air sac
5. abdominal air sac (5′ diverticulus into pelvic girdle) 6. lung 7. trachea


อากาศจะไหลจาก posterior air sacs (posterior thoracic และ abdominal air sacs) ไปยัง anterior air sacs (interclavicular, cervical และ anterior thoracic air sacs) ทั้งในขณะที่มีการหายใจเข้าและหายใจออก
โดยปกติเวลาที่นกหายใจเข้า อากาศครึ่งหนึ่งจะผ่านเข้าไปยัง posterior air sacs และอีกครึ่งที่เหลือจะผ่านเข้าไปยังปอดและ anterior air sacs ทำให้ถุงลมในร่างกายทั้งหมดขยายตัว และเมื่อหายใจออก ถุงลมจะมีการหดตัวทำให้อากาศจาก anterior air sacs ถูกขับออกมาทาง trachea ในขณะที่อากาศใน posterior air sacs จะไหลมาที่ปอดและถูกขับออกมากับลมหายใจ เนื่องจากอากาศที่ไหลผ่านนั้นไหลเข้าทางเดียวทำให้อากาศที่ฟอกแล้วไม่รวมกับอากาศที่ยังไม่ได้ฟอก ทำให้การหายใจ 1 ครั้งจึงมีประสิทธิภาพมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายใจ
ในปอดของนกไม่มี alveoli เหมือนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่มีโครงสร้างที่เรียกว่า parabronchi มาแทน ซึ่งภายในมี air vesicles มากมายที่เรียกว่า atria และบริเวณนี้เองที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น

สัตว์ปีกไม่มี diaphragm ที่มาแบ่งระหว่างช่องอกและช่องท้อง ดังนั้นในการหายใจแต่ละครั้งจึงต้องอาศัยการทำงานของ abdominal muscle (และถ้าจับนกโดยบีบช่องท้องเอาไว้ นั้นหมายความว่านกจะหายใจไม่ออกและตายในที่สุด)
จากข้อมูลเบื้องต้นทำให้เรารู้ว่า ลักษณะโครงสร้างร่างกายและสรีระการหายใจของนกปกติเป็นอย่างไร ดังนั้นในการจับบังคับนกเพื่อที่จะทำการตรวจร่างกายหรือวินิจฉัยโรคนั้น ควรตระหนักไว้ว่านกเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างจะบอบบาง ในการจับบังคับผู้จับควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อที่ป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียนกตามมาในภายหลัง
การหายใจของปลา โดยปกติปลาหายใจด้วยเหงือก (gills) ของมัน เหงือกตั้งอยู่สองข้างของตัวปลาที่บริเวณส่วนท้ายของหัว เมื่อเราแง้มหรือเปิดกระพุ้งแก้ม (opercles) ของปลา เราจะเห็นอวัยวะสำหรับใช้ในการหายใจ มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายขนนก หรือหวีเรียงกันเป็นแผงเป็นระเบียบ และมีสีแดงจัดอวัยวะดังกล่าวคือเหงือก ที่เหงือกนั้น มีเส้นโลหิตฝอย เป็นจำนวนมากมาหล่อเลี้ยง อยู่ก๊าซออกซิเจนที่ละลายปนอยู่ในน้ำ จะถูกเหงือกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด และเลือดที่มีออกซิเจน นี้จะไหลผ่านออกจากเหงือกไป เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ของเสีย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะถูกขับถ่ายออกจากเหงือกบริเวณเดียวกัน
หากเรานำปลาขึ้นจากน้ำ ปลาจะตายในระยะเวลาต่อมา ทั้งนี้เพราะปลาส่วนใหญ่ไม่สามารถ ใช้ก๊าซออกซิเจนจากบรรยากาศ โดยตรงได้ เนื่องจากมันไม่มีปอด สำหรับหายใจ เหมือนสัตว์บกทั้งหลาย ได้มีนักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ ทำการทดลองทางสรีรวิทยา (physiology) โดยนำปลาขึ้นมาวาง ในที่แห้งปรากฏว่าปริมาณ กรดแล็กติก (latic acid) ในเลือดและในกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลา เพียงไม่กี่นาที แต่เมื่อปล่อยปลากลับลงไปในน้ำแล้ว ปริมาณกรดแล็กติคจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ จนถึงระดับปกติ

การหายใจของปลาเริ่มขึ้นเมื่อมีน้ำ เข้าทางปากหรือท่อ เช่น สไปเรเคิล (spiracles) ในปลาพวกฉลามและกระเบน น้ำที่มีก๊าซออกซิเจน ละลายอยู่ก็จะผ่านเข้าไป ตามช่องเหงือก ครั้นเมื่อปลาหุบปาก และกระชับกระพุ้งแก้ม น้ำก็จะถูกขับออกทางช่องแก้ม ซึ่งเปิดอยู่ทางส่วนท้ายของส่วนหัว น้ำที่ถูกขับออกทางส่วนท้ายนี้ ยังเป็นแรงที่ช่วยดันให้ปลา เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีกส่วนหนึ่งด้วย
ยังมีปลาบางจำพวกที่มีอวัยวะพิเศษ ใช้ช่วยในการหายใจ นอกเหนือจากผิวหนังของปลาซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับถ่ายของเสีย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปลาบางจำพวก เช่น ปลาไหลน้ำจืด ใช้ลำไส้ช่วยในการหายใจได้ด้วย ในลูกปลาวัยอ่อน (larvae) ของปลาส่วนใหญ่ที่ยังมีถุงไข่แดงอยู่ ปรากฏว่าเส้นเลือดฝอยบนถุงไข่แดง และที่ส่วนต่าง ๆ ของครีบสามารถดูดซับ เอาก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้เช่นกัน ในลูกปลาจำพวกที่มีอวัยวะคล้ายปอด (lung fishes) จะมีเหงือกพิเศษ ซึ่งพัฒนาดีในระยะแรก ของการเจริญเติบโตของปลาเท่านั้น ต่อมาเมื่อลูกปลาดังกล่าวโตขึ้น เหงือกพิเศษจะค่อย ๆ หดหายไป
หายจัย? เนื้อหาดีมาก
ตอบลบหายจัย? เนื้อหาดีมาก
ตอบลบเนื้อหาเรื่องนี้กำลังเรียนอยู่เลยค่ะ ดีมากๆเลย
ตอบลบน่าสนใจมากเลยค่ะ ชอบ*-*
ตอบลบ